ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา

สร้างระบบคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์

วันไร้เงา

 วันนี้ #เกร็ดความรู้คู่Koratsci ในวันนี้เรามีเกร็ดเล็กๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ  
“วันไร้เงา” ทุกคนอาจจะสงสัยใช่ไหมว่า มันจะไร้เงาได้อย่างไร ในเมื่อเรามีดวงอาทิตย์อยู่
ทางเรามีคำตอบ ให้ทุก ๆ คนได้รู้อย่างแน่นอน ถ้าพร้อมแล้วมาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันได้เลย  
 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพมหานคร ครั้งแรกของปี 2567 ตรงกับวันที่ 27 เมษายน 2567  
เวลาประมาณ 12:16 น. เวลาดังกล่าว หากสังเกตวัตถุกลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา
เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุ พอดี และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย  
 ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ที่ อ.เบตง จ.ยะลา
เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2567 ที่ผ่านมา จากนั้นจะไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อย ๆ และจะสิ้นสุดที่ 
อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในวันที่ 22 พ.ค.2567 สำหรับกรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากเหนือศีรษะพอดี  ในวันนี้ เวลา 12.16 น. ขณะดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก หากสังเกตวัตถุกลางแดด จะดูเสมือนไร้เงา  เนื่องจากเงาของวัตถุจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ไม่มีเงาทอดออกมานั่นเอง
 สรุปแล้วที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากไม่ตรงกันในแต่ละจังหวัด เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี  ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน
ทั้งนี้วันและเวลาของการเกิดปรากฏการณ์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตบนโลก
ส่งผลให้แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจะมีวันและเวลาการเกิด ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่แตกต่างกัน
 รู้อย่างนี้แล้วพอจะไขข้อสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าทำไมถึงเป็นวันไร้เงา ทั้งที่มีดวงอาทิตย์
และเป็นเวลากลางวัน ครั้งหน้าจะมีเรื่องราวใดมาบอกเล่ากันอีก รอติดตามได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในเรื่องราวต่อไป สวัสดีค่ะ
 
 
เรียบเรียงโดย นางสาวรัตนาวดี  ลากสกุล  นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 23 เม.ย. 2567
ป้ายกำกับ : ประกาศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
^