ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา

สร้างระบบคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์

ปรากฎการณ์ วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox)




 พบกันอีกแล้วกับ #เกร็ดความรู้คู่Koratscience  
วันนี้ทางเราก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับดาราศาสตร์ มาบอกเล่าให้ทุก ๆ คน ได้รู้กัน ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องราว
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียง 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น แต่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร มาดูกันเลย 
 วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) หมายถึง วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน
ซึ่งตรงกับคำว่า “ วิษุวัต ” แปลว่า " จุดราตรีเสมอภาค "
โดยวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี
คือในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง 
 วันวสันตวิษุวัต  ในปี 2567 ตรงกับวันที่ 20 มี.ค. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
และตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี
นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
ครั้งหน้า #เกร็ดความรู้คู่Koratscience จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
เรื่องอะไรมาเล่าให้ทุก ๆ คนได้รู้กันอีก รอติดตามเลยนะ  
 
เรียบเรียงโดย นางสาวรัตนาวดี  ลากสกุล  นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 20 มี.ค. 2567
ป้ายกำกับ : ประกาศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
^