ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา

สร้างระบบคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์

ดวงจันทร์เต็มดวงโคจรอยู่ในระยะไกลโลกที่สุดในรอบปี ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon)

#เกร็ดความรู้คู่Koratscience  วันนี้เรามีปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์มาเล่าให้ฟังกันอีกแล้ว
 รอบนี้เป็นเรื่องของพระจันทร์เต็มดวง แต่เอ๊ะ! แล้วพระจันทร์เต็มดวงเดือนนี้มัน
ต่างจากเดือนอื่น ๆ ยังไง มาดูกันเลย
  วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวงโคจรอยู่ในระยะไกลโลกที่สุดในรอบปี
หรือเรียกว่า #ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) เวลาประมาณ 19:32 น. มีระยะห่างจากโลก ประมาณ 405,909 กิโลเมตร
คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเพียงเล็กน้อย 
เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ คือช่วงเย็นของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:22 น. 
เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567
  วันขึ้น 15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ คือวันที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หัน ด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงอาทิตย์ลับของฟ้าทางทิศ ตะวันตก ดวงจันทร์เต็มดวงจะขึ้นทางทิศตะวันออก ดังนั้น ในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง จะไม่สามารถสังเกตดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน ดวงจันทร์จึงจะกลับมาเต็มดวงอีกครั้ง  ครั้งหน้า
#เกร็ดความรู้คู่Koratscience  จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เรื่องอะไรมา เล่าให้ทุก ๆ คนได้รู้กันอีกรอติดตามเลย



 
เรียบเรียงโดย นางสาวรัตนาวดี  ลากสกุล  นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 23 ก.พ. 2567
ป้ายกำกับ : ประกาศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
^